กว่าจะได้ขึ้นสังเวียนต่อสู้จริงอย่าง UFC หรือ One Championships ไม่ใช่เรื่องง่าย

นักกีฬาต่อสู้จำนวนมากที่ผันตัวเองจากชนิดกีฬาเดิมที่ตัวเองถนัดเข้ามาสู่โลกแห่งการผสมผสานกีฬาต่อสู้หลากชนิดอย่าง MMA นั้นมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยแรงจูงใจในหลาย ๆ เรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่เป็นพลังผลักดันสูงสุดคือความท้าทายที่จะพิชิตความเป็นสุดยอดของกีฬานี้ให้ได้ เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าคุณคือสุดยอดนักสู้เหนือเหล่านักสู้ทั้งปวงนั่นเอง ระยะแรกของการฝึกซ้อมเป็นการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ ๆ เรื่องการต่อสู้แต่ละแขนงให้แตกฉาน ระยะนี้ใครเรียนรู้ได้เร็วก็ก้าวสู่ขั้นต่อไปได้เร็ว เมื่อก้าวสู่ขั้นต่อไปเป็นการเรียนรู้เชิงทักษะและเทคนิคต่าง ๆ ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้นักกีฬาจะเริ่มผสานเอาทักษะเดิมที่ตนเคยมีมากับศาสตร์ใหม่ที่ได้เรียนรู้ประยุกต์ให้กลายเป็นสไตล์การต่อสู้ที่เหมาะกับตัวเอง ในขณะที่การฝึกซ้อมลงนวมเก็บประสบการณ์ก็ต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนถึงจุดหนึ่งที่โค้ชมองเห็นว่าพร้อมที่จะเริ่มลงแข่งจริงได้จึงจะได้ลงสนามจริง บางคนใช้เวลาแรมเดือน บางคนใช้เวลาหลายปี บางคนก็ถอดใจกันไป เป็นเรื่องธรรมดา

แชมป์ MMA ต้องมีการวางตารางโปรแกรมฝึกซ้อมอย่างไรบ้าง

เมื่อกำหนดเป้าหมายแน่นอนว่าจะต้องเป็นแชมป์ MMA ให้ได้แล้วก็ต้องวางโปรแกรมการฝึกซ้อมให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด มาดูกันว่าโปรแกรมการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาต่อสู้ที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์มีการฝึกการอย่างไร

  1. เริ่มวันด้วยการฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย : อาจเป็นการวิ่ง สลับกับการเข้าห้องยิม ซึ่งผลที่ได้ก็จะแตกต่างกันไป การวิ่งใช้พัฒนาระบบการหายใจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนัก ส่วนการเข้าห้องยิมเพื่อพัฒนาระบบกล้ามเนื้อซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับนักกีฬา MMA ที่ต้องมีการปะทะกันอยู่ตลอดเวลา โดยมีการเพิ่มความเข้มข้นของโปรแกรมตามศักยภาพของนักกีฬาแต่ละคน
  2. วอร์ม ยืดกล้ามเนื้อ และฝึกพื้นฐาน : ช่วงนี้จะเป็นการทบทวนทักษะการต่อสู้ทั้งหมดด้วยการวอร์มเบา ๆ แต่ทุกครั้งต้องทำการยืดกล้ามเนื้อให้คลาย ร่างกายพร้อมเสียก่อน ผู้ฝึกจะจินตนาการถึงพื้นฐานของการต่อสู้ทั้งหมดทุกแขนง บางครั้งอาจใช้อุปกรณ์ในโรงยิมอย่างกระสอบ หรือเป้าล่อ เป็นตัวช่วยก็ได้
  3. Sparring : การลงนวมซ้อมจริงกับคู่ซ้อมเป็นการฝึกการใช้ทักษะและการหาระยะ จังหวะที่จะนำเอาเทคนิคเหล่านั้นมาใช้ในสถานการณ์จริง ในการลงนวมนั้นก็มีตั้งแต่แบบพื้นฐาน เพื่อเช็คจังหวะ ไปจนถึงการลงนวมซ้อมเหมือนจริง หรือที่เรียกว่า อุ่นเครื่อง ก็ได้
  4. จบวันด้วยการยืดคลายเส้น ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทุกครั้ง

การรักษาแชมป์ทำได้ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งตำแหน่งแชมป์เสียอีก

แม้โปรแกรมจะดูเหมือนไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่การทำเป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอนั้นสำคัญยิ่งกว่า เมื่อสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งแชมป์ได้แล้ว สิ่งที่ยากที่สุดก็คือ การรักษาแชมป์นั้นไว้ให้นานที่สุด ซึ่งจากสถิติแล้วน้อยคนนักที่จะสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้นาน หลายสมัย เพราะนักกีฬาใหม่ที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงนักกีฬาเก่าที่ยังคงตั้งหน้าตั้งตาฝึกซ้อมเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์ให้ได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยหากแชมป์ MMA จะเปลี่ยนหน้าไปทุก ๆ ปี